เมนู

ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า
อุเบกขา เพราะอรรถว่า ย่อมเห็นโดยความเกิดขึ้น อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ
คือเห็นอยู่โดยไม่ตกไปเป็นฝ่ายไหน. พระโยคาวจรผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน
ตรัสเรียกว่า อุเปกฺขโก (ผู้เข้าไปเพ่ง) เพราะประกอบด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์
ไพบูลมีกำลังนั้น.

ว่าด้วยอุเบกขา 10 อย่าง



ก็อุเบกขามี 10 อย่าง คือ
ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา)
พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา)
โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา)
วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร)
สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา)
เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา)
วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา)
ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก)
ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา)
ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา).
บรรดาอุเบกขา 10 เหล่านั้น อุเบกขาใดเป็นธรรมบริสุทธิ์เป็นปกติ
ในคลองแห่งอารมณ์ 6 ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร 6 ของพระ-
ขีณาสพเป็นอาการมีอยู่ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพในธรรม
วินัยนี้เห็นรูป ด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ มีความรู้สึกตัว วางเฉย
อยู่เทียว ย่อมอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่า ฉฬวคูเบกขา.